จากอิรักถึงไทย (3 จังหวัดภาคใต้) ปัญหาคือไม่รู้ว่าพวกมันเป็นใคร

ที่มาภาพ: http://dahrjamailiraq.com/สาเหตุที่อิรักต้องทำสง/

ม้ว่าสหรัฐฯได้ทำสงครามยึดครองอิรักมาเป็นเวลาเกือบ ปี แต่สถานการณ์ด้านความมั่นคงในอิรักก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะสงบลงง่ายๆ เหมือนดังเช่นที่ผู้นำสายเหยี่ยวในรัฐบาลสหรัฐฯคาดการณ์ไว้ก่อน ตัดสินใจโจมตีอิรักว่า หลังจากกองทัพสหรัฐฯสามารถโค่นล้มระบอบปกครองของอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนได้แล้วประชาชนอิรักจะออกมาโห่ร้องต้อนรับ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับกลายเป็นว่าทหารสหรัฐฯต้องเผชิญกับการต่อต้านตลอดเวลาจากศัตรูที่ยังไม่รู้ชัดว่าเป็นกลุ่มใด ในช่วงที่ผ่านมามีการก่อกวนสร้างความหวาดกลัวด้วยเบิดพลีชีพและการซุ่มยิงโจมตีทหารสหรัฐฯและพันธมิตร  อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิด คำถามสำคัญขึ้น ประการคือ กลุ่มที่โจมตีทหารสหรัฐฯเป็นใครและกลุ่มหรือขบวนการเหล่านี้ต้องการอะไร
          คำถามแรกเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ค่อนข้างยาก แม้สหรัฐฯซึ่งมีพลังอำนาจยิ่งใหญ่ก็ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน โดยกล่าวถึงในภาพกว้างว่าเป็นกลุ่มที่ยังจงรักภักดีต่อระบอบเก่าของอดีตประธานาธิบดีซัดดัมและพรรคบาธ อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการซุ่มยิงด้วยปืน AK-47 การใช้เครื่องยิงระเบิด RPG การวางกับระเบิดแสวงเครื่องบนถนน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการโจมตีตามแบบ (conventional) ของอดีตสมาชิกพรรคบาธและหน่วยงานความมั่นคงร่วมกับกลุ่มมาเฟียที่เคยได้รับผลประโยชน์แอบอิงกับระบอบของอดีตผู้นำอิรัก มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่ากลุ่มเหล่านี้ใช้อาวุธและวัตถุระเบิดที่ขโมยจากคลังแสงของกองทัพอิรักซึ่งสลายตัวไป รูปแบบปฏิบัติการของกลุ่มเหล่านี้ยังสะท้อนถึงวิธีปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของชาติอาหรับที่มักใช้มือสังหารกำจัดฝ่ายตรงข้ามในช่วงทศวรรษที่ 1950 เฉพาะอย่างยิ่งการโจมตีอยาตุลเลาะห์ โมฮัมหมัด บาเกร อัลฮาคิมที่เมืองนาจาฟและการโจมตีสำนักงานของสหประชาชาติในแบกแดดเมื่อกลางปี 2546[1]
          ส่วนจุดมุ่งหมายของการโจมตีแบบนี้บางครั้งดูเหมือนเป็นเรื่องการแก้แค้น โดยผู้ปฏิบัติการจะพยายามหาโอกาสโจมตีในช่วงที่ทหารสหรัฐฯขาดความระมัดระวังและการรักษาความปลอดภัยหละหลวม มีหลายกรณีที่กลุ่มต่อต้านสหรัฐฯต้องการส่งสัญญาณถึงกลุ่มชนเผ่า (เคิร์ด อาหรับ และเติร์กโกมานและกลุ่มศาสนาต่างนิกาย (สุหนี่และชีอะไม่ให้ร่วมมือกับสหรัฐฯ ทั้งนี้ บางครั้งยากที่จะระบุได้ชัดเจนว่ามูลเหตุจูงใจของปฏิบัติการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเมืองหรือเป็นเรื่องความแค้นส่วนตัว   พลโทริคาร์โด ซานเชส ผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจที่ ของสหรัฐฯในอิรักระบุว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มต่อต้านสหรัฐฯคือการแยกทหารสหรัฐฯที่พยายามเข้าไปให้ความช่วยเหลือออกห่างจากประชาชนอิรัก[2]
          ลักษณะการโจมตีอีกแบบหนึ่งซึ่งน่าจะเรียกว่าเป็นปฏิบัติการนอกแบบ (unconventional) คือการโจมตีด้วยรถยนต์บรรทุกระเบิดพลีชีพซึ่งเป็นรูปแบบที่กลุ่มก่อการร้ายอัล-ไคดาชอบใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายคุกคามต่อเสถียรภาพและความมั่นคงภายในของอิรัก การจับกุมสมาชิกพรรคบาธส่วนใหญ่ รวมทั้งอดีตประธานาธิบดีซัดดัม (เมื่อ 13 ธันวาคม 2546) แม้มีผลทำให้การโจมตีตามแบบลดความถี่ลงจนดูเหมือนว่าสหรัฐฯควบคุมสถานการณ์ไว้ได้บ้าง แต่การโจมตีนอกแบบซึ่งสหรัฐฯเชื่อว่าเป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายต่างชาติที่แทรกซึมเข้าอิรักในช่วงก่อนและหลังสงคราม และสร้างความสะพรึงกลัวให้กับชาวอิรักอย่างมากนั้น น่าจะยังไม่ลดลงในอนาคตอันใกล้ คำถามก็คือ กลุ่มคนพวกนี้ต้องการอะไร คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุดคือการทำให้อิรักกลายเป็นสมรภูมิของการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์
          สำหรับอดีตสมาชิกพรรคบาธที่สลายตัวเป็นกลุ่มย่อยๆ ในเบื้องแรกคงมีเป้าหมายที่จะสร้างความสูญเสียให้แก่ทหารสหรัฐฯให้มากที่สุด โดยทำให้สถานการณ์ในอิรักเหมือนในโมกาดิชู โซมาเลีย เมื่อปี 2536 ซึ่งสหรัฐฯต้องถอนตัวออกไปอย่างทุลักทุเล ทิ้งให้อิรักตกอยู่ในสภาพสับสนอลหม่านโดยมีเพียงพรรคบาธเท่านั้นที่เป็นกองกำลังจัดตั้งติดอาวุธ ซึ่งนักสังเกตการณ์จำนวนหนึ่งเห็นพ้องกับข้อสันนิษฐานนี้ รวมทั้งอดีตประธานาธิบดีอิหร่านฮาเชมี รัฟซานญานี ซึ่งทำนายไว้เมื่อพฤษภาคม 2546 ว่า สหรัฐฯคงต้องเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์กลับบ้าน หากมีการสูญเสียทหารในอิรักสูงถึง 500 คน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่กลุ่มสมาชิกพรรคบาธมุ่งหวังให้เกิดกลับมิได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด
          ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการทางทหารเมื่อ 20 มีนาคม 2546 - 29 กุมภาพันธ์ 2547 สหรัฐฯสูญเสียทหารในอิรักไปแล้วทั้งหมด 547 คน (378 คนจากการสู้รบ และ 169 คน จากสาเหตุอื่น)[3] ตัวเลขการสูญเสียดังกล่าวนับว่ามีผลกระทบทางจิตวิทยาต่อประชาชนสหรัฐฯพอสมควร เหตุที่ยังไม่มีการพูดถึงกันมากเพราะรัฐบาลสหรัฐฯพยายามปกปิดข้อมูลไม่ให้สื่อมวลชนเสนอข่าว[4] เนื่องจากเกรงจะกระทบต่อความนิยมของประธานาธิบดีจอร์จ บุช ในสภาพการณ์ปัจจบันที่สหรัฐฯยังคงเผชิญปัญหาการสร้างเสถียรภาพในอิรักและต้องเร่งถ่ายโอนอำนาจคืนสู่ชาวอิรักให้ทันใน 30 มิถุนายน 2547 ตามที่ได้ตกลงไว้กับสภาปกครองอิรัก (Iraqi Governing Council) เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2546 สหรัฐฯจึงพยายามให้สหประชาชาติเข้าไปแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบในอิรักมากขึ้น
          ขณะนี้มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯอาจขอร้องให้ประเทศพันธมิตรที่ส่งทหารเข้าไปช่วยรักษาความสงบในอิรัก ส่งทหารไปเพิ่มหรือไม่ก็ให้ปฏิบัติงานต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดความไร้เสถียรภาพขึ้นในอิรัก หลังจากสหรัฐฯถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยคืนให้กับรัฐบาลชั่วคราวที่จะจัดตั้งขึ้น[5] จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีซึ่งแสดงความ  ไม่พอใจสหรัฐฯอย่างมากที่ออกรายงานตำหนิไทยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อปลายกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา[6] จะมีท่าทีหรือตัดสินใจอย่างไรในเรื่องนี้   
          หันมาดูสถานการณ์ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดความไม่สงบตั้งแต่ต้นปี 2547 จนถึงขณะนี้เกือบ เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าความรุนแรงจะลดลง ขณะที่เหตุลอบสังหาร/ทำร้าย เจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านยังคงเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 44 คน ขวัญกำลังใจของประชาชนตกต่ำ ด้านการสืบสวนติดตามไล่ล่าผู้บงการก่อเหตุปล้นปืนและเผาโรงเรียนเมื่อ มกราคม 2547 ก็ยังไม่ได้ตัวผู้บงการอยู่เบื้องหลัง แม้ว่ามีการจับกุมผู้ต้องสงสัยไปแล้วเกือบ 10 คน พื้นที่ จังหวัดภาคใต้ก็ยังคงมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่ รวมทั้งมีการเสริมกำลังตำรวจ ทหาร จำนวนมาก ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของผู้นำศาสนาและการเมืองในพื้นที่ให้รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึก[7]
            เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พ...ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน” ว่า จะไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ตราบใดที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือและยังมีการลอบฆ่ารายวัน คำพูดของของนายกรัฐมนตรีในรายการดังกล่าว นอกจากเป็นการส่งสัญญาณถึง พวกมัน ซึ่งท้าทายอำนาจรัฐอยู่ในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการบอกปัดข้อเรียกร้องของนายเด่น โต๊ะมีนา วุฒิสมาชิกปัตตานี ที่แถลงก่อนหน้านั้นว่าจะล่ารายชื่อประชาชน 50,000 คน เพื่อขอให้รัฐบาล   ยกเลิกกฎอัยการศึกด้วย[8] อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น 2-3 วัน พวกมัน ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงได้ปฏิบัติการเย้ยอำนาจรัฐด้วยการยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวณชายแดนเสียชีวิตไปอีกหนึ่งคน
          อนุช อาภาภิรมย์ หัวหน้าโครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย กล่าวในการเสวนาเรื่อง ประเทศไทย 2547 จะปรับวิกฤติอย่างไรภายใต้มรสุม” ว่า หลังจากตรวจสอบข่าวจากสื่อต่างๆแล้วมีความรู้สึกอย่างหนึ่งคือข้อเท็จจริงที่แต่ละฝ่ายพูดนั้น ไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ได้ ไม่ว่ามาจากนายกรัฐมนตรีหรือมาจากใครต่อใครก็ตามไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด แสดงว่าทุกคนที่ออกมาพูดอาจจะไม่มีใครรู้จริงจึงพูดในลักษณะครอบคลุม หรือคนกลุ่มต่างๆพูดความจริงไม่หมดก็เป็นไปได้ การรู้ไม่จริงกับรู้แล้วพูดไม่ได้ ทำให้ทุกฝ่ายสรุปว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ แต่ไม่สามารถระบุว่าใครเป็นผู้สร้างสถานการณ์[9]
          นักวิชาการต่างชาติที่ศึกษาปัญหาภาคใต้ของไทย แสดงความเห็นคล้ายกับผู้นำทางศาสนาในพื้นที่และ ส.จังหวัดชายแดนของไทยที่เรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และมองว่าการใช้นโยบายการทหารนำการเมืองในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ยากที่จะชนะใจชาวมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รู้สึกแปลกแยกกับรัฐบาล ดร.โอมาร์ ฟารุค บาจูนิด นักวิชาการชาวมาเลเซีย ประจำมหาวิทยาลัยฮิโรชิมาซิตี ของญี่ปุ่น แสดงทัศนะผ่านวิทยุ BBC ว่า เหตุรุนแรงครั้งนี้ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาและอาจยืดเยื้อ เพราะรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีทักษิณยังมองปัญหาไม่ถูกจุด การให้ความสำคัญกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรือโจรก่อการร้ายน่าจะเป็นการมองแบบตื้นเขิน ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาความมั่นคงโลกในมลรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐฯ สรุปว่า แม้การเข้าร่วมสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ อาจมีส่วนจุดฉนวนให้กลุ่มต่างๆในไทย เคลื่อนไหวก่อเหตุ ซุ่มโจมตี แต่ที่ผ่านมา ความสงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทยสะท้อนถึงระดับการควบคุมของรัฐมากกว่าเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพราะกลุ่มเหล่านั้น แทบจะไม่มีกำลังทางทหารที่ทำสงครามแบ่งแยกดินแดนอีก[10]
          การใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศกฎอัยการศึก การจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะ หรือการจับกุมครูสอนศาสนายิ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น เหตุปล้นค่ายทหารสะท้อนความไม่น่าเชื่อถือโดยสิ้นเชิงของทหารในพื้นที่ การแก้ไขปัญหาจึงน่าจะมุ่งไปที่ว่า เหตุใดค่ายทหารจึงหละหลวม ปล่อยให้คนร้ายเข้าไปปล้นอาวุธได้ และหาตัวผู้รับผิดชอบมาลงโทษ ไม่ใช่ลงโทษประชาชนด้วยการประกาศใช้กฎอัยการศึก ซึ่งนอกจากจะปราบหรือหาตัวคนร้ายไม่ได้ยังจะทำให้ชาวบ้านยิ่งไม่พอใจ ดังนั้น คงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก หากประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือด้านการข่าว
            เป็นที่น่าสังเกตุว่าการนำเสนอข่าวสารบนเว็บไซต์ขององค์การปลดปล่อยสหปัตานีหรือ PULO[11] ในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2546 จนถึงปัจจุบัน ไม่ปรากฎว่ามีการอ้างความรับผิดชอบเกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น ตลอดจน PULO มิได้แสวงประโยชน์จากความเพลี่ยงพล้ำในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบภาคใต้ของรัฐบาล รวมทั้งไม่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึกหรือถอนทหารออกไปเหมือนเช่นที่ผ่านมาแต่อย่างใด หากกลไกด้านความมั่นคงของรัฐยังไม่สามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ที่ตกเป็นรองจากการไม่รู้ว่าพวกมันเป็นใครแล้ว ก็น่าเป็นห่วงว่าเหตุการณ์ในภาคใต้อาจเป็นจุดพลิกผันประวัติศาสตร์การเมืองไทยซึ่งมีคนทำนายไว้อย่างน่ากลัว

-------------------------------------------------
บทความต้นฉบับ ตีพิมพ์ใน กรุงเทพธุรกิจ มีนาคม 2547 หน้า 8 ใช้ชื่อ “จากอิรักถึงไทย จังหวัดภาคใต้”




[1] Amir Taheri “Last stand of Arab Afghans in battle ground number one-Iraq” GULF NEWS Online (February 18,2004).
[2] MSNBC News Service (Feb.19, 2004) http://www.msnbc.com/id/4016883/.
[3] ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทหารชาติพันธมิตรที่เสียชีวิตได้แก่ อังกฤษ 58 คน อิตาลี 17 คน เสปน คน บัลเกเรีย 5 คน ไทย คน เดนมาร์ค ยูเครนและโปแลนด์ชาติละ คน.
[4] David Walsh “Washington Conceals US Casualties In Iraq” Coastal Post Online (March, 2004).
[5] Wassana Nanuam “No return seen for troops in Iraq” Bangkok Post (February 29, 2004) p. 3.
[6] Piyanarrt Srivalo, Rungrawee C Pinyorat “You’re a useless friend” The Nation (February 28, 2004) p. 1A.
[7] “Forces in South told to back off” The Nation (February 28, 2004) p. 1A.
[8] “Soothing the South” The Nation (February 28, 2004) p. 4A.
[9] ประชาชาติธุรกิจ (1-3 มีนาคม 2547) . 10.
[10] อรนุช อนุศักดิ์เสถียร สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้” วิทยุ BBC ภาคภาษาไทย (1 มีนาคม 2547).
[11] URL เว็บไซต์ www.pulo.org ตรวจสอบเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2547 (7 มุฮัรรอม ฮ..1425) มีการแยกลิงค์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Patani Merdeka เสนอข่าวสารภาษารูมี/ภาษามลายูใช้อักษรโรมัน Romanize (http://merdeka.netfirms.com) และ Berita Dari Patani-ข่าวในปัตตานี (http://beritadaripatani.mine.nu).
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.