ทฤษฏีสมคบคิด (Conspiracy Theory) ใน 3 จังหวัดภาคใต้

ที่มาIntroduction to conspiracy theories by Zwenzini _ Teaching Resources
https://www.tes.com/teaching-resource/introduction-to-conspiracy-theories-11026633

ับเป็นเวลาเกือบ ปีแล้วที่บุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเรียกรวมๆว่าผู้ก่อความไม่สงบ (อันที่จริงควรจะเรียกว่าผู้ก่อการร้าย) ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งไทยพุทธและมุสลิมรวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐใน จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความวิตกกังวลกันอย่างมากว่าความรุนแรงดังกล่าวอาจขยายตัวลุกลามไปยังพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆของประเทศ รวมทั้งเป็นชนวนเหตุให้มีการกระทบกระทั่งกับมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดต่อกัน แต่ฝ่ายความมั่นคงก็ยังไม่สามารถหามาตรการใดที่จะจัดการกับผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาด
          เมื่อเร็วๆนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แถลงข้อมูลสถิติความสูญเสียจากการก่อการร้ายในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ มกราคม 2548 - 24 ตุลาคม 2548 สรุปว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 38 คน บาดเจ็บ 138 คน ทหารเสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 108 คน ทหารพราน คน บาดเจ็บ 18 คน ประชาชนเสียชีวิต 393 คน บาดเจ็บ 737 คน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในรอบปี 2547 ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ตัวเลขความสูญเสียที่เกิดขึ้นถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของสถานการณ์ที่ดำเนินมาอย่างยืดเยื้อ และไม่มีทีท่าว่าจะปิดเกมส์ได้เร็วอย่างที่ใครบางคนเชื่อ
          ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยืนยันว่าการก่อความไม่สงบในภาคใต้เป็นปัญหาภายในที่สามารถจัดการได้ อย่างไรก็ตาม แม้หลายฝ่ายได้พยายามทุ่มเททรัพยากรทุกด้านลงไปในการแก้ไขปัญหา แต่ผลที่ได้กลับเป็นตรงกันข้าม นอกจากการก่อการร้ายรายวันจะมิได้ถูกทำให้บรรเทาเบาบางลงแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ยิ่งทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยรูปแบบการปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายมีลักษณะอุกอาจและโหดเหี้ยม คล้ายการรบแบบสงครามกองโจรในเมืองเข้าไปทุกที (ดู จับตาแนวโน้มสงครามยุคที่ ในภาคใต้ โดยผู้เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ 28 กุมภาพันธ์ 2548 หน้า 15) ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของฝ่ายทหารในพื้นที่ระบุว่า การเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายในภาคใต้เป็นการลอกเลียนสไตล์การก่อการร้ายของกลุ่มต่อต้านในอิรัก ซึ่งหากปล่อยไว้สถานการณ์อาจลุกลามขยายตัวและส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภูมิภาคได้
          คำถามสำคัญที่สาธารณชนอยากรู้และเป็นคำถามที่หาคำตอบชัดเจนได้ยากที่สุด คือ ใครเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายและสันติภาพจะกลับสู่พื้นที่ที่พวกเขาเคยอยู่กันมาอย่างสงบสุขเมื่อใด ในขณะที่นักวิชาการและผู้สังเกตการณ์จำนวนหนึ่งเชื่อว่า กลุ่มผู้ก่อการน่าจะเป็นพวกมุสลิมที่ต่อต้านอำนาจรัฐซึ่งปฏิบัติการโดยร่วมมือกับพวกอาชญากร ผู้ค้ายาเสพติด นักการเมืองที่ทุจริตและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น หน่วยข่าวกรองและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของตะวันตกเชื่อว่า มีกลุ่มติดอาวุธอย่างน้อย กลุ่มที่ร่วมมือกันวางแผนปฏิบัติการและฝึกอบรมนักรบมุสลิมออกมาต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามได้แก่ 1) กลุ่ม BRN (the Barisan Revolusi Nasional) Co-ordinate เป็นกลุ่มที่มีกำลังเข้มแข็งที่สุด ตลอดระยะเวลากว่า ทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มนี้ใช้โรงเรียนสอนศาสนาเป็นแหล่งชักชวนและปลูกฝังอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนแก่เยาวชนไทยเชื้อสายมาเลย์ 2) กลุ่ม GMIP (Gerakan Mujahedeen Islam Pattani) ก่อตั้งโดยผู้ที่ไปร่วมรบในสงครามอัฟกานิสถานในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 และ   3) กลุ่ม PULO (the Pattani United Liberation Organisation) เป็นกลุ่มที่ยุติการเคลื่อนไหวในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ปัจจุบันหัวหน้ากลุ่มนี้พยายามแสวงประโยชน์จากสถานการณ์ใน จังหวัดภาคใต้โดยเรียกร้องขอเจรจากับรัฐบาล
          การรวบรวมข่าวกรองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในช่วงที่ผ่านมาภายใต้การประกาศใช้ กฎอัยการศึกซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น พ...บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ..2548 แม้มีส่วนช่วยทำให้รัฐบาลสามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้นและนำไปสู่การจับกุมสมาชิกเครือข่ายของผู้ก่อความไม่สงบได้จำนวนหนึ่ง แต่การที่ไม่ปรากฎว่ามีใครออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์รุนแรงรายวันก็มีส่วนทำให้มีการพูดถึงทฤษฏีสมคบคิด (Conspiracy Theory) กันมากขึ้น สาเหตุที่มีการพูดถึงทฤษฎีนี้ก็เพราะว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในพื้นที่กับประชาชนในภาคอื่นๆของประเทศมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ทั้งๆที่รัฐบาลมี สื่อ” อยู่ในมือทุกชนิด แต่ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนได้
          กรณีที่พวกผู้ก่อการร้ายปล่อยข่าวว่าจะปฏิบัติการครั้งใหญ่ในวันที่ 11 เดือน 11 ซึ่งสร้างความแตกตื่นไปทั่ว จังหวัดชายแดนใต้ นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในช่วงก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่ากลุ่มญะมาอะห์ อิสลามิยะห์ หรือ JI รวมทั้งกลุ่มอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement-GAM) ของอินโดนีเซียเข้ามาเกี่ยวข้อง หนังสือพิมพ์หัวสีบางฉบับถึงกับเสนอข่าวว่ามีแกนนำของกลุ่ม GAM เข้ามาเป็นครูฝึกเยาวชนใน จังหวัดภาคใต้นานกว่า ปี อีกทั้งมีสำนักงานลับเป็นสถานที่ติดต่ออยู่ในตึกแฝดกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์โน่น อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในวงการข่าวกรองของไทยยืนยันว่าในชั้นนี้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นเพียงกลุ่มภายในท้องถิ่น (home-grown) เท่านั้น
          แนวทางการต่อสู้รับมือกับกลุ่มก่อการร้ายพวกนี้ นักวิเคราะห์ต้องพยายามคิดให้เหมือนว่าตัวเองเป็นพวกผู้ก่อการร้าย เพื่อที่จะสามารถคาดทำนาย (predict) และป้องกัน (prevent) ไม่ให้ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการได้สำเร็จ โดยอาจจัดตั้งทีมจำลองสภาพเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่สามารถอ่านความคิดของผู้ก่อการร้าย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นองค์ประกอบในทีมต้องเป็นนักคิดนอกกรอบ (thinking outside the box) ที่มีความสามารถอย่างสูงในการใช้ความคิด (ดู แก้ปัญหาไฟใต้ถึงเวลา คิดนอกกรอบ โดยผู้เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ 17 พฤศจิกายน 2547 หน้า 14) การจัดตั้งทีมดังกล่าวขึ้นมาจะช่วยทำความเข้าใจได้ว่า ผู้ก่อการร้ายใช้อะไรเป็นเครื่อง   ชี้วัดความสำเร็จในการก่อเหตุแต่ละครั้ง และอะไรเป็นมูลเหตุจูงใจของผู้ก่อการร้าย
          ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบที่มีแนวโน้มรุนแรงยืดเยื้อและเต็มไปด้วยความเชื่อเรื่องการสมคบคิดและการคาดเดาต่างๆนานา ขณะนี้มีเหตุผลเพียงน้อยนิดที่จะทำให้เชื่อว่าความขัดแย้งในพื้นที่ จังหวัดภาคใต้จะได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลา 3 - 5 ปีข้างหน้า ถึงแม้มาตรการหลายอย่างที่ใช้จะไม่มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่รัฐบาลยังคงยืนยันที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองโดยลำพัง เนื่องจากเชื่อว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆในท้องถิ่น จนถึงขณะนี้มีความเป็นไปได้มากว่า รัฐบาลไทยคงจะต้องเผชิญแรงกดดันจากประเทศตะวันตกและบางประเทศสมาชิกในสมาคมอาเซียนให้ยอมรับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเจรจามากขึ้น หลังจากคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) นำเสนอรายงานต่อรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เมื่อถึงเวลานั้น สถานการณ์ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นอย่างไรหนอ

-------------------------------------
บทความต้นฉบับ ตีพิมพ์ใน กรุงเทพธุรกิจ 14 พฤศจิกายน 2548 หน้า 12 ใช้ชื่อ “ทฤษฏีสมคบคิดใน จังหวัดภาคใต้”
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.