บทเรียนจาก Langley: การบริหารปฏิบัติการไล่ล่าบินลาเดน (ตอนที่ 2) การปรับโครงสร้างทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์

Osama bin Laden's hideout (Image: WIKI)
https://www.express.co.uk/news/world/1121266/osama-bin-laden-escape-plot-revealed-cia-flee-pakistan-september-11-911-spt

ครงสร้างขององค์กรและห่วงโซ่สายการรายงานควรสะท้อนลำดับความสำคัญเร่งด่วน ภารกิจการค้นหาตัวบินลาเดนในสายตาคนภายนอกมีความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดสำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯและผู้อำนวยการ CIA แต่ทั้งสอง(Leon E. Panetta และ Jeremy Bash)[1] ไม่เคยได้รับรายงานประจำที่ปรับปรุงให้ทันสมัย และไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่คนใดใน CIA ดำเนินการปรับปรุงข่าวสารและข้อมูลการปฏิบัติการ กล่าวโดยสรุปผู้อำนวยการ CIA รับทราบข้อมูลอย่างจำกัดเกี่ยวกับบินลาเดนมีเพียงการพบปะรับทราบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สืบสวนเป็นระยะเท่านั้น
          ในธันวาคม 2009 สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงเมื่อเกิดเหตุระเบิดพลีชีพสังหารเจ้าหน้าที่ CIA จำนวน 7 คนในฐานทัพทางภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวถูกลวงไปพบ “ผู้ให้ข่าว” ที่อ้างว่าสามารถเข้าถึงบุคคลวงในของบินลาเดน แต่กลับกลายเป็นสายลับสองหน้าซึ่งจุดชนวนระเบิดพลีชีพในเวลาต่อมา เหตุระเบิดครั้งนั้นทำให้สหรัฐฯเพิ่มกำลังตามล่าบินลาเดนจากเดิมเป็นสองเท่า
          ระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ CIA ที่ Langley ทั้งสองได้สอบถามที่ประชุมว่า “ใครรับผิดชอบการตามล่าบินลาเดน?” ทุกคนในห้องประชุมยกมือขึ้นโดยคิดว่าเป็นคำตอบที่ทั้งสองต้องการทราบ แต่ทั้งสองกลับเห็นว่า การที่ทุกคนคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของภารกิจนั้นเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งปฏิบัติภารกิจบินลาเดนตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาเข้านอนรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้อำนวยการ CIA ทั้งสองจึงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการคนหนึ่งซึ่งมีความรู้ น่าเชื่อถือ เคยปฏิบัติงานในสนามและดูแลภารกิจต่อต้านข่าวกรองในพื้นที่แนวชายแดนอัฟกานิสถาน - ปากีสถาน ทำหน้าที่ผลักดันทีมและคอยย้ำเตือนฝ่ายอำนวยการถึงความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดของภารกิจนี้ โดยตั้งชื่อว่า “Gary” ทำหน้าที่รับผิดชอบบรรยายสรุปต่อผู้อำนวยการ CIA ทุกบ่ายวันอังคาร แม้ไม่มีข่าวสารอะไรใหม่ก็ตาม
          Gary”และผู้ช่วยได้สร้างทีมงานและรื้อฟื้นเบาะแสทุกชนิดของบินลาเดน อาทิ ครอบครัว เครือข่ายและเพื่อนฝูง การปฏิบัติงานใช้ความพยายามอย่างมากแต่ให้ผลลัพธ์เล็กน้อย เวลาผ่านไปหลายเดือน “Gary” เริ่มไม่มีข่าวสารในการบรรยายสรุปทุกบ่ายวันอังคาร สร้างความหนักใจอย่างมากแต่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ “Gary” และทีมงานขุดคุ้ยทุกเบาะแสที่เป็นไปได้ลึกมากขึ้น ภารกิจไล่ล่าบินลาเดนกลายเป็นเรื่องส่วนบุคคลสำหรับ “Gary” และทีมงานทั้งหมด
          ในช่วงปลายสิงหาคม 2010Gary” บรรยายสรุปด้วยรายงานข่าวชิ้นใหม่ ความพยายามรื้อฟื้นเบาะแสใหม่ช่วยชี้นำเจ้าหน้าที่ CIA ไปยังพี่น้องสองคนซึ่งทำหน้าที่ “นำสาร” ให้กับบินลาเดนในช่วงทศวรรษก่อนหน้า CIA ได้พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่อยู่ของพี่น้องสองคนในปากีสถาน และติดตามบุคคลทั้งสองไปยังบ้านพักตากอากาศหลังหนึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมือง Abbottabad สุดถนนเป็นทางตัน ซึ่ง “Gary” เรียกบ้านพักดังกล่าวว่า “ป้อมปราการ” ล้อมรอบด้วยกำแพงด้านหน้าสูง 12 ฟุต ด้านหลังสูง 18 ฟุตและกำแพงหน้าระเบียงสูง 7 ฟุต บ้านหลังนี้ไม่ติดตั้งบริการอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ ผู้พักอาศัยบางคนไม่เคยออกจากบ้านพัก ข่าวสารชิ้นนี้เป็นความคืบหน้าสำคัญ ซึ่ง “Gary” บัญชาการทำงานเต็มเวลา ด้วยความเด็ดเดี่ยวและมุ่งมั่น ในที่สุดก็พบเบาะแสที่น่าติดตาม (ยังมีต่อ)



[1] สรุปบทความเรื่อง The Former Head of the CIA on Managing the Hunt for Bin Laden เขียนโดย Leon E. Panetta อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency-CIA) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ “Worthy Fights: A Memoir of Leadership in War and Peace” (Penguin Press, 2014) และ Jeremy Bash หัวหน้าฝ่ายอำนวยการของผู้อำนวยการ CIA และรัฐมนตรีกลาโหม ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review (MAY 02, 2016) https://hbr.org/2016/05/leadership-lessons-from-the-bin-laden-manhunt
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.