สร้างความต้านทาน (ธนูดอกที่สอง) เมื่อเผชิญวิกฤติ
ที่มาภาพ: SHOT WITH ARROW! https://www.youtube.com/watch?v=hm1ns9vDwgY
การแพร่ระบาดและผลกระทบอย่างกว้างขวางของไวรัสโคโรนาได้ครอบงำข่าวสารทั่วโลก ซึ่งเราทุกคนต่างรู้เห็นและประสบภาวะคู่ขนานของการแพร่กระจายความกังวล หวาดวิตกและความไม่แน่นอน โดยแท้จริงแล้วในภาวะวิกฤติ สภาพจิตใจของเรามักจะทำให้สถานการณ์ความท้าทายดูน่ากลัวมากขึ้น กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในตัวเอง ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? และเราจะเปลี่ยนแปลงสภาวะการณ์นั้นได้อย่างไร? ในฐานะ CEO ของบริษัทที่จะนำสติกลับมา เพื่อปลดเปลื้องการทำงานและวิธีคิดแบบใหม่จะขอแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำใจฝ่าวิกฤติ ซึ่งเหมือนการคุกคามของการแพร่ระบาด[1]
แม้ไม่มีข่าวร้ายหรือความน่าวิตกใด ๆ จิตใจของเราก็มีแนวโน้มจะเกิดความฟุ้งซ่าน การศึกษาล่าสุดพบว่าพนักงาน (ลูกจ้าง) ร้อยละ 58 ไม่สามารถเอาใจใส่กับการทำงานได้ตลอดเวลา เนื่องจากขาดสมาธิ ผลการวิจัยชี้ว่า จิตใจของเรามักติดกับดักความคิดเชิงลบ ระหว่างวิกฤติที่เกิดขึ้นในตอนนี้ จิตใจของเราจะรู้สึกถึงความรุนแรงมากขึ้นและความคิดหมกมุ่นรวมทั้งรู้สึกหวาดกลัว หมดหนทาง นี่คือเหตุผลที่เราพบว่าตัวเองกำลังอ่านเรื่องราวที่น่ากลัวของผู้โดยสารที่ถูกกักกันบนเรือสำราญ แม้ว่าเราจะไม่เคยวางแผนหรือก้าวเท้าขึ้นบนนั้นแต่อย่างใด
เมื่อจิตใจของคุณติดอยู่ในสภาวะเช่นนี้ ปฏิกิริยาลูกโซ่จะเริ่มขึ้น ความกลัวจะทำให้ขอบเขตการมองเห็นแคบลงและยากที่จะมองเห็นภาพใหญ่รวมทั้งความเป็นไปได้ของการสร้างสรรค์เชิงบวกที่อยู่ตรงหน้า เมื่อมุมมองของเราแคบลงแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกับผู้อื่นก็ลดลงเช่นกัน ขณะนี้ความจริงของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีบทบาทต่อความหวาดกลัวที่เลวร้ายที่สุดของเราเกี่ยวกับผู้อื่นและเพิ่มความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งเติมเชื้อเพลิงให้กับความกังวลของเรา
เมื่อพิจารณาถึงความวุ่นวายในเดือนที่ผ่านมา ทำให้รำลึกถึงนิยายเปรียบเทียบทางพุทธศาสนาเรื่อง “ธนูดอกที่สอง”[2] กาลครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าถามศิษย์คนหนึ่งว่า “ผู้ใดถูกยิงด้วยธนูดอกแรกย่อมรู้สึกเจ็บปวดไหม? ถ้าถูกยิงด้วยธนูดอกที่สองจักเจ็บปวดยิ่งกว่าไหม” พระพุทธองค์อธิบายว่า “ในชีวิตของเราไม่สามารถควบคุมธนูดอกแรกได้เสมอไป (เพราะมันคือทุกข์ทางกายหรือปัญหาในโลกที่ทุกคนต้องประสบ) อย่างไรก็ดี ธนูดอกที่สองคือ ปฏิกิริยาของเราต่อธนูดอกแรก (หรือความทุกข์ เวทนาทางจิตใจ) และธนูดอกที่สองเป็น (ทางเลือก) สิ่งที่เราเลือกได้”
ทุกวันนี้เราทุกคนกำลังประสบกับธนูดอกแรกของไวรัสโคโรนา โดยรับผลกระทบจากข้อจำกัดการเดินทาง ราคาหุ้นลดลงและอุปทานขาดแคลนเป็นต้น ธนูดอกที่สอง – ความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสของเราเอง กังวลว่าคนที่เรารักจะติดเชื้อ รวมทั้งความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางการเงินและข่าวสารอันมืดมนที่ท่วมท้นบนสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราขยายสร้างขึ้น โดยสรุป ธนูดอกแรกทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และการต่อต้านของเราสร้างพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ สำหรับธนูดอกที่สอง
สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำไว้ด้วยว่าธนูดอกที่สองเหล่านี้ - อารมณ์และจิตใจของเราในการตอบสนองต่อวิกฤตเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ความจริงก็คือสิ่งเหล่านั้นมักจะนำความทุกข์ทรมานมากขึ้น โดยทำให้จิตใจของเราคับแคบ ยุ่งเหยิงและไม่สามารถเห็นหนทางปฏิบัติที่ชัดเจน
แนวทางเอาชนะแนวโน้มตามธรรมชาติเหล่านี้คือ การสร้างความยืดหยุ่น (resilient) ทางจิตใจของเราผ่านการมีสติ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาท้าทายเช่นปัจจุบันหมายถึง การจัดการจิตใจของเราด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการเผชิญหน้าธนูดอกแรกและทำลายธนูดอกที่สอง ก่อนที่มันจะกระทบ/ปักลงที่ (จิตใจ) ของเรา ความยืดหยุ่น คือ ทักษะในการสังเกตุความคิดของเรา ปลดปล่อยสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์และปรับสมดุลอย่างรวดเร็ว ทักษะนี้สามารถเลี้ยงดูอบรมและฝึกฝนได้ นี่คือสามกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ:
ขั้นแรกทำจิตใจให้สงบ
เมื่อจิตใจของคุณสงบและปลอดโปร่ง คุณสามารถเอาใจใส่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายในใจ คุณสังเกตุและจัดการความคิดของคุณและและยึดจับไว้ก่อนที่จะเตลิดไปสู่สถานการณ์โลกาวินาศ คุณสามารถให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณเลือกได้ (เช่น “การทำงานจากที่บ้านเป็นของขวัญไม่ใช่หรือ”) กับสิ่งที่ดึงคุณเข้ามาพร้อมกับเสียง ping ของการแจ้งเตือนข่าวด่วนแต่ละครั้ง (เช่น "โอ้ไม่นะ ... ตลาดหุ้น ดิ่งลงอีกแล้ว”)
ความสำคัญของความสงบในสภาวะปัจจุบัน ช่วยให้จิตใจไม่หลงทางและยึดติด ลดความเครียดและความกังวลที่เรายึดติดอยู่ได้ง่าย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การฝึกฝนจิตให้ปล่อยวางและทำใจจดจ่ออย่างต่อเนื่องจะช่วยสร้างความยืดหยุ่มให้เราครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อเราฝึกฝนการนำจิตใจกลับสู่ช่วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะนั้น เราได้เพิ่มขีดความสามารถของเราในการรับมือและต่อสู้กับวิกฤตทุกชนิด (โชคดีที่มีแอพพลิเคชั่นฟรีจำนวนมากที่จะช่วยให้จิตใจของคุณสงบและเพิ่มสติของคุณ)
มองออกไปนอกหน้าต่าง
ความสิ้นหวังและความกลัวอาจนำไปสู่การตอบโต้มากเกินไป บ่อยครั้งที่รู้สึกดีกว่าที่จะทำอะไร ... บางสิ่ง ... แทนที่จะนั่งด้วยความรู้สึกไม่สบายใจ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนรู้สึกผิดหวังและหงุดหงิดกับความคิดริเริ่มสำคัญทางธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส Covid-19 และพยายามรับมือความคับข้องใจกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับทันที ผู้เขียนรู้ว่าจิตใจตัวเองต้องการพื้นที่ในการปลดเปลื้องการวนเวียนของข่าวร้ายและเพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งการวางแผนและภาวะผู้นำที่ดีสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามทำงานให้น้อยลงและใช้เวลามากขึ้นในการมองออกไปนอกหน้าต่างและสะท้อนภาพ การทำเช่นนั้นทำให้ผู้เขียนสามารถค้นหาคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดที่จะก้าวไปข้างหน้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้นำ
เชื่อมต่อกับผู้อื่นผ่านความเห็นอกเห็นใจ
น่าเสียดายที่ชุมชนหลายแห่งที่ให้การสนับสนุนในช่วงเวลาของความเครียดได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้องทำงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส โรงเรียนปิดตัวลง กิจกรรมต่าง ๆ ถูกยกเลิกและธุรกิจต่าง ๆ มีนโยบายการทำงานจากที่บ้านและการห้ามเดินทาง ผลพลอยได้จากมาตรการเหล่านี้คือ ความรู้สึกโดดเดี่ยวและการแบ่งแยกจากผู้คนและกลุ่มที่สามารถระงับความกลัวและความวิตกกังวลของเราได้ดีที่สุด
บรรยากาศแห่งความกลัวในปัจจุบัน ยังสร้างรอยด่างและการพิจารณาว่า ใครควรถูกตำหนิและใครที่ควรหลีกเลี่ยงพร้อมจิตใจและพฤติกรรมมืดมนและการเอาตัวรอด “ทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองไม่ว่าเขาหรือเธอ” เรามักจะหลงลืมการแบ่งปันความเปราะบางและการพึ่งพาซึ่งกันและกันได้อย่างง่ายดาย
การเชื่อมต่อที่มีความหมายเกิดขึ้นได้ แม้จากระยะห่างทางสังคม (หกฟุต) ระหว่างคุณกับเพื่อนบ้าน - เริ่มต้นด้วยความเห็นอกเห็นใจ เจตนาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเริ่มต้นในจิตใจ กล่าวในทางปฏิบัติ ความเห็นอกเห็นใจเริ่มต้นจากการถามตัวเองถึงการเชื่อมต่อในโลกเสมือนและกายภาพกับคนอื่น ๆ : เราจะช่วยให้ผู้คนมีวันที่ดีขึ้นได้อย่างไร
ด้วยคำถามง่าย ๆ สิ่งมหัศจรรย์เริ่มปรากฎขึ้น จิตใจพองโต ดวงตาเปิดกว้าง สำหรับผู้คนและสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและเรามองเห็นความเป็นไปได้สำหรับตัวเองและผู้อื่นซึ่งอุดมไปด้วยความหวังและโอกาสที่สุกงอม
[1] สรปบทความเรื่อง Build Your Resilience in the Face of a Crisis โดยผู้เขียน 3 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารของสถาบัน POTENTIAL PROJECT นำโดย Rasmus Hougaard , Jacqueline Carter และ Moses Mohan เผยแพร่ในเว็บไซต์ Harvard Business Review เมื่อ March 19, 2020 Available at: https://hbr.org/2020/03/build-your-resiliency-in-the-face-of-a-crisis?utm_medium=email&utm_source=newsletter_daily&utm_campaign=dailyalert_not_activesubs&referral=00563&deliveryName=DM73313
[2] ดู สัลลัตถสูตร .. เวทนาเปรียบด้วยลูกศร พระสูตรที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ 30 พฤษภาคม 2552 0900 – 1200 น. มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา https://www.dhammahome.com/webboard/topic12485.html
Leave a Comment