ผู้นำชอบ Tweet และศาสตร์แห่งการต่อรอง

ที่มาภาพ: WIKIPEDIA https://en.wikipedia.org/wiki/Trump:_The_Art_of_the_Deal

ระธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่นิยมชมชอบการทวีตข้อความผ่าน Twitter (เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์)[1] เป็นชีวิตจิตใจ ทั้งก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยมีผู้ติดตาม 33 ล้านคน หลายครั้งที่มีเสียงเรียกร้องให้ Twitter ปิดบัญชีผู้ใช้ของประธานาธิบดีทรัมป์ เนื่องจากหลายข้อความที่ทวีตในลักษณะจาบจ้วงหรือล่วงเกินผู้อื่นอาจเข้าข่ายหรือหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดนโยบายของ Twitter อย่างไรก็ดี โฆษกของ Twitter แถลงว่าไม่สามารถให้ความเห็นต่อบัญชีผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง เนื่องจากประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย[2]
          การใช้ Twitter ส่งข้อความของประธานาธิบดีทรัมป์กลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประกาศนโยบายต่างประเทศ ในช่วงที่เกิดข้อพิพาททางการค้ากับจีน ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ทวีตข้อความเพื่อส่งสัญญาณซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ลองกลับไปดูทวีตครั้งสำคัญๆที่ทำให้ตลาดหุ้นเริ่มกลับมามีแรงเทขายในปีนี้กันดูซักหน่อย[3]
           ครั้งแรกของปี 2019 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่าตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯจะเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้าเทคโนโลยีจากจีนในอัตรา 10% เป็น 25% ในวันศุกร์นี้ ส่วนสินค้าอื่นๆที่มีมูลค่าประมาณ 325,000 ล้านดอลลาร์ ที่ยังไม่ถูกเก็บภาษี สหรัฐฯก็จะเริ่มจัดเก็บในอัตรา 25% เช่นเดียวกัน
              ครั้งที่ 2 เมื่อ 29 มิถุนายน ประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่า จะกลับมาเจรจากับจีนอีกครั้งและจะไม่มีการตั้งกำแพงเพิ่มเติมหลังจากนี้
              ครั้งที่ 3 เมื่อ 1 สิงหาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ทวีตข้อความว่า การจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะใช้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์นำเข้าจากจีน ที่เหลือซึ่งไม่ได้จัดเก็บภาษีก่อนหน้านี้ เนื่องจากจีนไม่รักษาสัญญาที่ว่าจะซื้อสินค้าทางการเกษตรจากสหรัฐฯมากขึ้น  พร้อมกันนั้นประธานาธิบดีทรัมป์ยังประกาศตั้งกำแพงภาษี 10% กับสินค้าจากจีนชุดใหม่ มูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน เป็นต้นไป
              ล่าสุดครั้งที่ 4 เมื่อ 23 สิงหาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ทวีตอีกรอบว่าต้องการตอบโต้จีนด้วยการปรับเพิ่มเพดานภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในปัจจุบันอีก 5% ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่จีนแถลงรีดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯรอบใหม่ ก่อนหน้านั้นทางการจีนแถลงว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯเพิ่มเติมสูงสุด 10% วงเงิน 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

'I like thinking big. I always have. To me it's very simple: If you're going to be thinking anyway, you might as well think big.' - Donald J. Trump

ที่มา: Monthly Strategy “ศาสตร์แห่งการต่อรอง” บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย
         
        ประเด็นข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนกลับมาทวีความรุนแรงอีกครั้ง บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเข้าใจทัศนะของประธานาธิบดีทรัมป์ให้มากขึ้น จึงได้ศึกษามุมมองของประธานาธิบดีทรัมป์จากหนังสือ The Art of the Deal” ซึ่งสามารถตีความเข้ากับสถานการณ์สำคัญๆในปัจจุบันดังนี้[4]
          1. ไม่คาดว่าข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯและจีนจะกลายเป็นภัยพิบัติต่อเศรษฐกิจเพราะประธานาธิบดีทรัมป์บริหารจัดการ downside risk เสมอ
    2. ประธานาธิบดีทรัมป์มีรูปแบบการเจรจาเชิงรุกและมุทะลุ ทำให้กระบวนการเจรจามักเกิดความผันผวนสูง
3. ด้วยความตระหนักถึงความเสี่ยงจึงเชื่อว่าประธานาธิบดีทรัมป์ทราบดีถึงข้อจำกัดที่มีอยู่และไม่คาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะดำเนินมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีกับจีน เพราะยากต่อการประเมินผลกระทบในเชิงลบ
          4. ประธานาธิบดีทรัมป์หลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยจุดประสงค์ที่แท้จริงและจุดอ่อนของตน เพราะเชื่อว่าตนจะสูญเสียอำนาจต่อรองได้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยมองว่าการส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯคือหนึ่งในจุดอ่อนของประธานาธิบดีทรัมป์



[1] ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์เน้นความเรียบง่ายและรวดเร็วกำหนดให้ผู้ใช้งานส่งข้อความ 140 ตัวอักษรในแต่ละครั้ง
[2] 'ทวิตเตอร์ยังนิ่งแม้มีเสียงเรียกร้องให้ปิดบัญชีของ 'ประธานาธิบดีทรัมป์' VOA Thai (มิถุนายน 30, 2017) https://www.voathai.com/a/trump-twitter/3922448.html.
[3] สถิติบอกว่า...: ถึงปธน.ทรัมจะทวีตขู่อีก ตลาดหุ้นก็อาจไม่ผันผวน มากไปกว่าเดิม ชยนนท์ รักกาญจนันท์ กรุงเทพธุรกิจ (10 กันยายน 2019) หน้า 20.
[4] Monthly Strategy “ศาสตร์แห่งการต่อรอง” บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย (28 สิงหาคม 2019)
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.