ม้านั่งสามขาและจุดศูนย์ดุล (Center of Gravity - COG): สมมุติว่า “ธนาธร” ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี (ตอนแรก)
Lykke อ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ (ends) หนทางปฏิบัติ (ways) และเครื่องมือหรือทรัพยากร (means) โดยเปรียบเทียบกับขาทั้งสามของม้านั่งเดี่ยวไม่มีพนัก (“ม้านั่ง” เป็นตัวแทนของ “ยุทธศาสตร์”) ได้แก่ วัตถุประสงค์ (objectives) แนวความคิด (concepts) และทรัพยากร (resources) ขนาดที่แตกต่างกันของขาแต่ละข้างจะทำให้ม้านั่งเกิดมุมเอียงหรือความเสี่ยง (Risk)...
หลายทศวรรษหลังการตีพิมพ์บทความเรื่อง Defining Military Strategy = E + W + M เขียนโดย Colonel Arthur F. Lykke Jr. ศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยการทัพบกของสหรัฐฯ[1] ตัวแบบที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ทหารของลิคเก้ (Lykke Model of military strategy) มีอิทธิพลต่อสมาชิกประชาคมป้องกันประเทศของสหรัฐฯอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกองทัพบก Lykke ได้อธิบายยุทธศาสตร์เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) = วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่ต้องการบรรลุ (ends) + หนทางปฏิบัติ (ways) + เครื่องมือหรือทรัพยากรที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (means) สูตรดังกล่าวฝังแน่นในความคิดวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯหลายรุ่นตลอดมา[2]
Lykke's Original Depiction of Strategy (Graphic from Arthur Lykke, "Defining Military Strategy = E + W + M, " Military Review 69, no. 5 [1989])
Lykke อ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ หนทางปฏิบัติและเครื่องมือ (ทรัพยากร) โดยเปรียบเทียบกับขาทั้งสามของม้านั่งเดี่ยวไม่มีพนัก (“ม้านั่ง” เป็นตัวแทนของ “ยุทธศาสตร์”)[3] ได้แก่ วัตถุประสงค์ (objectives) แนวความคิด (concepts) และทรัพยากร (resources) ขนาดที่แตกต่างกันของขาแต่ละข้างจะทำให้ม้านั่งเกิดมุมเอียงหรือความเสี่ยง (Risk) “หากทรัพยากรทางทหารเข้ากันไม่ได้กับแนวความคิดทางยุทธศาสตร์หรือความมุ่งมั่นไม่ทัดเทียมกับขีความสามารถทางการทหาร เราอาจตกอยู่ในความยากลำบากและเป็นไปได้ที่จะประสบความพ่ายแพ้หรือเสียหายหรือไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์”
ความเสี่ยงในเบื้องต้นเกิดจากข้อบกพร่องของทรัพยากรทางทหาร จากมุมมองนี้ ตัวแบบของ Lykke มีประโยชน์และสมเหตุสมผล โดยทำให้เราไม่ละเลยข้อจำกัดของทรัพยากร ซึ่งในทางทฤษฎีจะทำให้เราไม่ดำเนินยุทธศาสตร์ซึ่งไม่เป็นจริง (unrealistic strategies) กรอบความคิดดังกล่าวมีประโยชน์ในการพัฒนายุทธศาสตร์ ขณะที่นักวางแผนก็สามารถใช้วิเคราะห์แผนและการกระทำของของมิตรและศัตรูในการกำหนดพลังอำนาจ ความเสี่ยงและที่สำคัญที่สุด คือ การวิเคราะห์จุดศูนย์ดุล (Center of Gravity - COG)[4]
การเชื่อมโยงกรอบแนวคิดทางยุทธศาสตร์กับจุดศูนย์ดุล[5]
วิธีการที่แม่นยำสำหรับการกำหนดจุดศูนย์ดุลเกี่ยวพันกับการใช้ทฤษฎีระบบ (systems theory) โดยมองภาพแบบองค์รวม (holistic viewpoint) อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีระบบครอบคลุมเรื่องพื้นฐานจำนวนมากและอาจสับสนกับจุดเชื่อมต่อ (nodes) และการเชื่อมโยง (links) จำนวนมาก กรอบยุทธศาสตร์ของ Lykke ไม่เพียงนำเสนอแนวทางที่เรียบง่ายผ่านความซับซ้อนของระบบ แต่ยังเป็นทางลัดในการวิเคราะห์ ด้วยคำถามเรียบง่าย คือ 1) อะไรคือ สภาวะสุดท้าย (end-state) ที่ต้องการ? 2) จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร? และ 3) ต้องใช้ทรัพยากรอะไร? ทฤษฎีระบบช่วยลดองค์ประกอบเหลือเท่าที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์จุดศูนย์ดุล (ตามภาพ) เรื่องนี้เป็น “ศิลปะ”ไม่ใช่ “วิทยาศสาตร์” ควรมีความยืดหยุ่น ดังนี้
ที่มาภาพ: https://www.academia.edu/7384864/Logical_method_of_COG_Analysis
ขั้นตอนแรก ระบุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุให้ได้ กระบวนการนี้สนับสนุนทั้งการวิเคราะห์ภารกิจและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่สอง ระบุหนทางปฏิบัติที่จะบรรลุเป้าหมายและเลือกวิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุด ควรจดจำไว้ว่า หนทางปฎิบัติเป็นการกระทำจึงควรแสดงเป็นคำกริยา จากนั้นเลือกองค์ประกอบการกระทำที่สำคัญ หรือขีดความสามารถที่จำเป็น หนทางปฏิบัติคือ การกระทำที่จำเป็นในการบรรลุสภาวะสุดท้าย หนทางปฏิบัติเป็นคำกริยา เช่นเดียวกับขีดความสามารถที่จำเป็น หนทางปฏิบัติจึงเท่ากับขีดความสามารถที่จำเป็น (Ways = critical capability)
ขั้นตอนที่สาม จัดทำรายการเครื่องมือหรือทรัพยากร (means) ที่ต้องการใช้และปฏิบัติตามหนทางปฏิบัติหรือขีดความสามารถที่จำเป็น
ขั้นตอนที่สี่ เลือกทรัพยากร (คำนาม) จากรายการที่ต้องใช้ปฏิบัติหรือขีดความสามารถที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็คือ จุดศูนย์ดุล
เราอาจดำเนินการเพิ่มอีกสองขั้นตอน เพื่อหาจุดลงมือโจมตีจุดศูนย์ดุลที่ดีที่สุดในขั้นตอนที่ห้า เราอาจเลือกรายการทรัพยากร (เครื่องมือ) ที่เหลือและทำให้กระบวนการทั้งหมดสมบูรณ์ด้วยขั้นตอนที่หก โดยระบุความล่อแหลมของความต้องการที่สำคัญ ไล่เรียงตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนที่สี่ตลอดจนขั้นตอนที่หก อนึ่ง การแยกแยะหรือพิสูจน์ทราบดังกล่าวเข้ากันได้กับกระบวนการประเมินการปฏิบัติ
การทดสอบความสมเหตุสมผล: การปฏิบัติ/ใช้
การทดสอบการปฏิบัติ/ใช้ (does/uses) เป็นการยืนยันความพร้อมของจุดศูนย์ดุลและทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างความต้องการที่จำเป็นกับความล่อแหลมที่สำคัญ มีเพียงจุดศูนย์ดุลโดยเนื้อแท้เท่านั้นที่สามารถบรรลุภารกิจเฉพาะเจาะจงหรือความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหนทางปฏิบัติ หากมีบางอย่างถูกใช้กระทำในเบื้องต้น (ใช้ขีดความสามารถที่จำเป็น) ซึ่งทำให้หนทางปฏิบัติบรรลุเป้าหมายซึ่งก็คือ จุดศูนย์ดุล พูดอีกอย่างคือ ระบบที่ใช้ปฏิบัติการได้ (does) และเป็นแหล่งกำเนิดที่สร้างพลังหรือขีดความสามารถที่จำเป็นคือ จุดศูนย์ดุล หรือพูดง่าย ๆ จุดศูนย์ดุลกระทำและใช้ทรัพยากรให้บรรลุความสำเร็จ
หากมีบางสิ่งถูกใช้เพื่อกระทำการในเบื้องต้น (ขีดความสามารถที่จำเป็น) สิ่งนั้นคือ ข้อกำหนดหรือความต้องการ (requirement) หากบางสิ่งมีส่วนสนับสนุนแต่มิได้กระทำการใช้ขีดความสามารถที่จำเป็น ก็เป็นเพียงข้อกำหนดหรือความต้องการไม่ใช่จุดศูนย์ดุล (ยังมีต่อ)
หากมีบางสิ่งถูกใช้เพื่อกระทำการในเบื้องต้น (ขีดความสามารถที่จำเป็น) สิ่งนั้นคือ ข้อกำหนดหรือความต้องการ (requirement) หากบางสิ่งมีส่วนสนับสนุนแต่มิได้กระทำการใช้ขีดความสามารถที่จำเป็น ก็เป็นเพียงข้อกำหนดหรือความต้องการไม่ใช่จุดศูนย์ดุล (ยังมีต่อ)
[1] Arthur F. Lykke Jr., “Defining Military Strategy = E + W + M,” Military Review 69, no. 5 (1989).
[2] Are Our StrAtegic MOdelS FlAwed? Jeffrey W. Meiser Parameters 46(4) Winter 2016–17 Available at: https://www.academia.edu/31757558/Ends_Ways_Means_Bad_Strategy
[3] Lykke, “Defining Military Strategy,” 6
[4] คือ จุดที่เสมือนเป็นที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน ซึ่งจุดนี้อาจจะอยู่ในหรือนอกวัตถุก็ได้ การหาจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ หาได้โดยการแขวนวัตถุนั้นในแนวลักษณะต่างๆกันในแนวดิ่งโดยแนวของน้ำหนักของวัตถุจะตัดกันที่จุดๆหนึ่ง PHYSICS ศูนย์ถ่วง สืบค้นที่ http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/physics5_1/lesson4/more/more5_4/item4_11.php
[5] Logical method of CENTER-OF-GRAVITY Analysis Colonel Dale C. Eikmeier, U.S. Army Military Review (September-October 2007) Available at: https://www.academia.edu/7384864/Logical_method_of_COG_Analysis
Leave a Comment