ผลกระทบข้อตกลงสันติภาพอิสราเอล – สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE): นัยของความเปลี่ยนแปลง

President Donald J. Trump, Minister of Foreign Affairs of Bahrain Dr. Abdullatif bin Rashid Al-Zayani, Israeli Prime Minister Benjamin Netanyahu and Minister of Foreign Affairs for the United Arab Emirates Abdullah bin Zayed Al Nahyan sign the Abraham Accords Tuesday, Sept. 152020, on the South Lawn of the White House. (Official White House Photo by Joyce N. Boghosian)

ที่มาภาพ: https://en.wikipedia.org/wiki/Israel%E2%80%93United_Arab_Emirates_normalization_agreement#/media/File:President_Trump_and_The_First_Lady_Participate_in_an_Abraham_Accords_Signing_Ceremony_(50345630003).jpg

ข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ซึ่งเปิดเผยให้เห็นความร่วมมือแบบลับ ๆ ของทั้งสองประเทศ อาจส่งผลกระทบที่สำคัญตามมา อย่างไรก็ตาม การขายเครื่องบินรบแบบ F-35 Joint Strike Fighter ของสหรัฐฯแก่ UAE มีแนวโน้มจะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากรัฐสภาสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความคาดหวังว่า UAE อาจได้รับอาวุธชั้นสูงเข้าประจำการทำให้การเมืองอิสราเอลร้อนขึ้นและสะท้อนการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ของนายกรัฐมนตรี Benjamin  Netanyahu ขณะที่ประเทศอาหรับอื่น ๆ อาจใช้ตัวแบบ UAE ในการปรับปรุงความสัมพันธ์กับอิสราเอล โดยไม่คำนึงถึงการทำข้อตกลงกับปาเลสไตน์[1]

          หลายสัปดาห์หลังจากสหรัฐฯออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอล - UAE (13 สิงหาคม 2020) และต่อมามีการลงนามในสนธิสัญญา “Abraham Accord” เมื่อ 15 กันยายน 2020[2] นั้น ทำให้เกิดคำถามถึงจุดยืนทางการทูตในตะวันออกกลางที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผลกระทบของข้อตกลงดังกล่าว อิสราเอลและ UAE ได้ร่วมมือกันอย่างลับ ๆ นานหลายปี ก่อนเผชิญภัยคุกคามร่วมกันจากอิหร่าน การที่อิสราเอลและ UAE ไม่ได้ทำสงครามกันตั้งแต่แรก หลายฝ่ายจึงสรุปว่าข้อตกลงดังกล่าวมีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า

ขณะเดียวกันบางฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า เมื่อเวลาผ่านไปข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือไม่ หากไม่คำนึงถึงที่มาและมูลเหตุจูงใจของผู้ผลักดันเกิดข้อตกลง มีหลายเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่าการปรับปรุงความสัมพันธ์ดังกล่าว อาจมีผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งการสนับสนุนค้ำจุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ การเมืองภายในของอิสราเอลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในตะวันออกกลาง

ข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์อิสราเอล - UAE เปิดโอกาสให้ UAE จัดซื้อเครื่องบินรบแบบ F-35 Joint Strike Fighter ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นไปไม่ได้ หาก UAE ไม่ยอมรับการมีอยู่ของ (รัฐ) อิสราเอล จุดยืนอันยาวนานของนโยบายสหรัฐฯต่อตะวันออกกลางคือ การรักษา “ความได้เปรียบทางทหารในเชิงคุณภาพ” ของอิสราเอลเหนือประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ในทางปฏิบัติหมายความว่า รัฐที่ไม่รักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลจะถูกขัดขวาง ไม่ให้นำเข้าอาวุธที่มีความซับซ้อนที่สุดที่สหรัฐฯผลิตขึ้นเพื่อการส่งออก

ในทางทฤษฎีข้อตกลงดังกล่าวขจัดอุปสรรคของ UAE อันที่จริงรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์เพิ่งผลักดันให้ขายเครื่องบินรบ F-35 และโดรนขั้นสูงให้แก่ UAE แต่ความคาดหวังของการขายยุทโธปกรณ์ดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันจากหลายฝ่ายรวมถึงบางส่วนในรัฐสภาสหรัฐฯและในรัฐบาลอิสราเอล นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแสวงหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีความซับซ้อนโดยไม่ต้องแข่งขันสะสมอาวุธ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา UAE มีบทบาทแข็งขันในความขัดแย้งระดับภูมิภาครวมถึงในลิเบียและเยเมนที่กลุ่มพันธมิตรนำโดยซาอุดีอาระเบียต่อสู้กับกลุ่มกบฏฮูตีที่อิหร่านหนุนหลัง โดยสังหารพลเรือนจำนวนมาก สถานะของ UAE ได้รับความสนใจจากนักวิจารณ์ในรัฐสภาสหรัฐฯ ข้อตกลงดังกล่าวอาจทำให้ฝ่ายสนับสนุนอิสราเอลต่อต้านการวิ่งเต้นด้านกลาโหมเพื่อสร้างอิทธิพลในรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสถานการณ์ไม่ปกติอันเนื่องจากความเป็นหุ้นส่วนด้านการป้องกันเชิงลึกระหว่างสหรัฐฯ – อิสราเอล

ทางด้านอิสราเอล คาดไม่ถึงว่านายกรัฐมนตรี Netanyahu จะเห็นชอบกับการปรับปรุงความสัมพันธ์โดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ UAE จะได้รับยุทโธปกรณ์ขั้นสูงจกสหรัฐฯ แต่เมื่อภาพปฏิกิริยาของอิสราเอลต่อข้อตกลงดังกล่าวชัดเจนขึ้น ในด้านหนึ่งปรากฎรอยปริแยกระหว่าง Netanyahu และ Mossad[3] อีกด้านหนึ่งเป็นความแตกแยกกับฝ่ายกลาโหมและพันธมิตรรัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรี Netanyahu เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขายอาวุธแก่ UAE

นายกรัฐมนตรี Netanyahu ปกปิดเรื่องข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์และแจ้ง Benny Gantz รัฐมนตรีกลาโหมและ Gabi Ashkenazi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศทราบ ก่อนประกาศแถลงการณ์ร่วมเพียงเล็กน้อย ต่อมา Gantz ได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าการจัดซื้อเครื่อบินรบ F-35 ของ UAE ไม่เป็นผลดีต่ออิสราเอล ความไม่ลงรอยดังกล่าวแสดงให้เห็นการตัดสินใจแบบรวมศูนย์มากขึ้นของ Netanyahu และเกิดคำถามในอิสราเอลเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ

ข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์ดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในตะวันออกกลางอย่างกว้างขวาง แม้เป็นเพียงการสานสัมพันธ์ความร่วมมือ แต่ความตกลงที่กระทำในทางลับยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ตั้งแต่มีการออกแถลงการณ์ร่วม ปรากฎรายงานที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการเจรจาระหว่างอิสราเอลกับซูดาน โอมาน บาห์เรนและโมร็อกโก อย่างไรก็ตาม ผู้นำประเทศเหล่านั้น ได้บอกปัดการปรับปรุงความสัมพันธ์กับอิสราเอล หากไม่มีข้อตกลงกับปาเลสไตน์

เป็นที่น่าสังเกตว่า รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซูดาน ได้ปลดโฆษกกระทรวงต่างประเทศ หลังจากชี้นำว่า ซูดานกำลังเตรียมการลงนามในข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์กับอิสราเอล ดังนั้นคาดว่าการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอลยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน

การที่กลุ่มฮามาสและฝ่ายบริหารปาเลไตน์มีท่าทีร่วมกันปฏิเสธและวิจารณ์ข้อตกลงปรับปรุงความสัมพันธ์ UAE กับอิสราเอล สะท้อนถึงความเป็นเอกภาพที่ค่อนข้างหายากในกลุ่มชาวปาเลสไตน์ การมีบทบาทด้านกิจการทหารอย่างแข็งขันของ UAE ลดทอนแรงจูงใจของความคาดหวังในการได้มาซึ่งอาวุธขั้นสูงเพื่อแลกกับการปรับปรุงความสัมพันธ์ ข่าวลือเกี่ยวกับความคืบหน้าของการทำความตกลงควรได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นเพียงข่าวลือ


[1] THE ISRAEL-UAE DEAL: IMPLICATIONS AND SECOND-ORDER EFFECTS INTELBRIEF Wednesday, September 2, 2020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/the-israel-uae-deal-implications-and-second-order-effects?e=c4a0dc064a

[2] What’s Behind the New Israel-UAE Peace Deal? By Steven A. Cook, CFR Expert August 17, 2020 Available at: https://www.cfr.org/in-brief/whats-behind-new-israel-uae-peace-deal

[3]  หรือ “สถาบันข่าวกรองและปฏิบัติการพิเศษ” เป็นหน่วยสืบราชการลับแห่งชาติของอิสราเอล หนึ่งในหน่วยงานหลักในประชาคมข่าวกรองของอิสราเอลรวมทั้ง อาเมน (หน่วยข่าวกรองทางทหาร) และ ชินเบท (หน่วยข่วความมั่นคงภายใน) สืบค้นที่ https://th.wikipedia.org/wiki/มอสซาด

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.