รัฐบาลไบเดนคิดอย่างไรกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย (ตอนจบ)

ที่มาภาพ: https://www.thairath.co.th/news/politic/1976824

A foreign policy better geared to Southeast Asia’s needs is not incompatible with promoting US economic and security national interests or competing with China Richard Maude[1]

          ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ใช่การลงโทษ

นโยบายการค้าของว่าที่ประธานาธิบดี Biden จะมีความเป็นปฏิปักษ์และพึ่งพาด้านภาษีน้อยลงกว่านโยบายของประธานาธิบดีก่อนหน้า สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นโยบายดังกล่าวจะช่วยขจัดความไม่แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นที่น่ายินดีของประเทศต่าง ๆ เช่นเวียดนามและไทย ซึ่งกำลังได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯเพิ่มขึ้นและอาจถูกตอบโต้ด้วยมาตรการภาษีศุลกากร คาดว่ารัฐบาล Biden จะใช้อัตราภาษีเบื้องต้นที่กำหนดไว้กับเวียดนาม แต่มีขอบเขตที่แคบ

เรื่องหนึ่งที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โอดครวญถึงสงครามภาษีระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ผ่อนคลายลง ความต้องการหลีกเลี่ยงภาษีช่วยผลักดันการลงทุนและการค้าทั่วทั้งภูมิภาค ขณะนี้อาจมีความกังวลเล็กน้อย เนื่องจากการ “แยกตัว (decoupling)” ของเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนยังดำเนินต่อไป โดยรัฐบาล Biden ยังคงกดดันจีนทางเศรษฐกิจด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ควบคุมการส่งออก จำกัดการลงทุนและลงโทษทางการเงิน ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ป้องกันความเสี่ยง

ว่าที่ประธานาธิบดี Biden คงไม่ไล่เบี้ยโดยใช้ภาษีศุลกากรเป็นอาวุธทางการค้ามากนัก แต่ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าเขาสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า ในฐานะรองประธานาธิบดีผู้สนับสนุนข้อตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) ซึ่งเปลี่ยนเป็นความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่ไม่รวมสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี นโยบายการค้าเสรีได้รับการสนับสนุนน้อยลงจากการเมืองภายในสหรัฐฯและมีปัญหากดดันด้านนโยบายเพิ่มขึ้น EIU ไม่คาดว่า Biden จะส่งเสริมให้สหรัฐฯเข้าร่วม CPTPP ในอนาคต ซึ่งจะลดทอนอิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการลงนามในข้อตกลง RCEP

มีแนวโน้มว่าสหรัฐฯอาจใช้ความช่วยเหลือต่างประเทศ (foreign aid) เป็นเครื่องมือนโยบายต่างประเทศ เช่นเดียวกับประธานาธิบดีประชาธิปไตยคนก่อน ๆ ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังการแพร่ระบาดไวรัส โคโรนา (Covid-19) จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ น่าสังเกตว่า แม้ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐฯก็ยังคงให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเพื่อตอบโต้การทูต “หน้ากากอนามัย” ของจีนท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้ประโยชน์จากงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามทุนจีนก็มาพร้อมโครงการเมกะโปรเจ็กต์ภายใต้ BRI แรงดึงดูดเงินทุนและความเชี่ยวชาญของสหรัฐฯเกี่ยวกับชุมชนรวมทั้งโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถสาธารณสุขจะขยายตัวหลังจากการแพร่ระบาด ทั้งนี้ คาดว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้ประโยชน์จากเงื่อนไขความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่ดีขึ้นท่ามกลางการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯและจีน

สิทธิมนุษยชน: จุดที่ไม่ขยับไปไหน (sticking point)

ความแตกต่างที่ชัดเจนของรัฐบาล Biden กับรัฐบาลก่อนหน้าคือ การกำหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นเสาหลักที่แข็งแกร่งของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯจะตรวจสอบข้อเท็จจริงในบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้เป็นที่รวมของวิกฤตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งขัดขวางความพยายามของรัฐบาล Biden ในการยกระดับความสัมพันธ์ทางการเมืองพร้อมกับจับตาการขยายอิทธิพลของจีน วิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนจะกดดันให้รัฐบาล Biden ดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตในแบบอิงค่านิยม (value-based diplomacy)

ฟิลิปปินส์ภายใต้ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte จะได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษ นอกจากการเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่ยาวนานของสหรัฐฯ ประเทศนี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เนื่องจากชนะการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้กับจีนในศาลอนุญาโตตุลาการ (Permanent Court of Arbitration) ในปี 2016 โดย Biden ย้ำว่าจีนต้องรับผิดชอบพฤติกรรมที่ก้าวร้าว คำพิพากษาในคดีนี้อาจใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯในภูมิภาค

การดำเนินการดังกล่าวของสหรัฐฯอาจมีความซับซ้อน เนื่องจากการดำเนินโยบายต่างประเทศสนับสนุนจีนอย่างผิดปกติของ Duterte และการทำสงครามต่อต้านยาเสพติดซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน อาจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังหมดสมัยของ Duterte ซึ่งไม่สามารถลงเลือกตั้งได้อีกในปี 2022 ผลของการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดต่อความสัมพันธ์ของฟิลิปปินส์กับจีนและสหรัฐฯรวมทั้งพลวัตภูมิศาสตร์การเมืองในทะเลจีนใต้

ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯกับจีน ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมุ่งมั่นสงวนสิทธิความเป็นอิสระและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของตนจากการรักษาความสัมพันธ์กับทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจซึ่งทวีความรุนแรงจะทำให้การรักษาสมดุลยากขึ้นเรื่อย ๆ



[1] Joe Biden cannot afford to repeat Donald Trump’s mistake of leaving Southeast Asia to China Richard Maude South China Morning Post Available at: https://www.scmp.com/comment/opinion/article/3111147/biden-cannot-afford-repeat-trumps-mistake-leaving-southeast-asia

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.