เทคโนโลยีควอนตัมเร่งการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์

ที่มาภาพ : https://www.reuters.com/investigates/special-report/us-china-tech-quantum/

ารแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศทวีความเข้มข้น หลังจาก NATO[1] เผยแพร่ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีควอนตัม (quantum technology)[2] เป็นครั้งแรกเมื่อ 17 มกราคม 2024 เพื่อสร้างพันธมิตรที่มีความพร้อมในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีพลิกผันที่ใช้ได้สองทาง (disruptive dual-use แม้จีนประกาศลงทุนด้านเทคโนโลยีควอนตัมแซงหน้าสหรัฐฯประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่บริษัท IBM ของสหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำการประมวลผลควอนตัมขนาดใหญ่[3]

          ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีควอนตัมที่รัฐมนตรีต่างประเทศ NATO ให้การรับรอง เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2023 ถือเป็นจุดสำคัญของการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ ซึ่งอาศัยข้อได้เปรียบที่ไม่เคยมีมาก่อนในการประมวลผล สื่อสารและการตรวจจับ เอกสารดังกล่าวเน้นการใช้สองทางของเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพันธมิตรและป้องกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามหรือคู่แข่งได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

 ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning-ML) เพื่อความมั่นคงแห่งชาติพร้อมกับป้องกันการใช้งานโดยมีเจตนามุ่งร้ายรวมทั้งการเร่งความก้าวหน้าทางเทคนิคประมวลผลแบบควอนตัมและสาขาอื่น ๆ ที่จำเป็นและทันเวลา

          เทคโนโลยีควอนตัมเป็นเทคโนโลยีปรากฎใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากหลักการกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) อันเป็นสาขาของวิชาฟิสิกส์ที่ศึกษาพฤติกรรมของอนุภาคในระดับต่ำกว่าอะตอมและอนุภาคมูลฐานเทคโนโลยีควอนตัมสามประเภทได้แก่ การประมวลผลควอนตัม การสื่อสารควอนตัมและการตรวจจับควอนตัมแตกต่างจากการคำนวณแบบดั้งเดิมซึ่งใช้ bits แทนตัวเลขฐานสอง (binary) ส่วนการประมวลผลควอนตัมใช้ qubits ซึ่งมีหลายสถานะพร้อมกันหรือสภาวะทับซ้อน (Superposition) ที่คลื่น 2 คลื่นเคลื่อนที่มาพบกันในตัวกลางเดียวกันและเกิดการรวมกัน

ควอนตัมสามารถถอดรหัสอัลกอริธึมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้อย่างง่ายดายและมีศักยภาพในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญและอ่อนไหวด้านความมั่นคงแห่งชาติ การประมวลผลควอนตัมทรงพลังมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปซึ่งจะช่วยสนับสนุนการคำนวณและการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน

การสื่อสารควอนตัมทำให้การรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ให้ประโยชน์อย่างชัดเจนในสนามรบรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบัญชาการและควบคุม (command and control) ทางทหารตลอดจนการสื่อสารผ่านดาวเทียมเกี่ยวกับข่าวกรอง (intelligence) การเฝ้าระวัง (surveillance) และการลาดตระเวน (reconnaissance)

การตรวจจับอนุภาคควอนตัม (quantum sensing) ด้วยความแม่นยำและฉับไว ยกระดับความสามารถในการตรวจวัดทางกายภาพ กล่าวโดยสรุปเทคโนโลยีควอนตัมปฏิวัติความสามารถในการตรวจจับและเฝ้าระวังของกองทัพและปรับปรุงการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่

เทคโนโลยีควอนตัมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงในด้านการรักษาความปลอดภัยและการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายทางด้านเทคนิครวมทั้งความยากลำบากในการสร้างและรักษาเสถียรภาพคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดใหญ่เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วิสัยทัศน์พันธมิตรที่มีความพร้อมด้านควอนตัม NATO และพันธมิตรจะสนับสนุนระบบนิเวศควอนตัมที่มีความปลอดภัย ยืดหยุ่น (resilient) สามารถตอบสนองการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในอุตสาหกรรมควอนตัม โดยอาศัยความสอดคล้องในการลงทุนและการร่วมมือระหว่างพันธมิตร การพัฒนาแรงงานที่มีทักษะและการตระหนักรู้สถานการณ์

การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ควอนตัม NATO และพันธมิตรจะใช้ประโยชน์เทคโนโลยีควอนตัมสนับสนุนภารกิจหลัก เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ อาทิ พันธมิตรและ NATO ระบุถึงการใช้เทคโนโลยีควอนตัมและการใช้งานแบบสองทาง การทดสอบและบูรณาการเทคโนโลยีควอนตัมตามข้อกำหนดการวางแผนป้องกันและการพัฒนาขีดความสามารถ

NATO ได้พัฒนากรอบการดำเนินงาน การปรับใช้ สร้างมาตรฐานและนโยบายด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน (interoperability)

Sam Howell นักวิจัยเทคโนโลยีและความมั่นคงแห่งชาติเห็นว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของสหรัฐฯแบบเกมผลรวมเป็นศูนย์ (zero -sum game)[4] ซึ่งเอื้อต่อนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขันขณะเดียวกันอาจนำไปสู่การพูดเกินจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องควอนตัม

ในช่วงแรกของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบเปรยว่าเป็น “การแข่งขันสะสมอาวุธ (Arms Race)” ซึ่งถูกโต้แย้งว่าเป็นการตื่นตระหนกและไม่มีมูลทางวิทยาศาสตร์ สร้างความหวาดกลัวเพื่อทำให้เกิดสงครามเย็น

ที่ผ่านมา NATO ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีควอนตัมเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศมานานหลายปี บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีควอนตัมหลายแห่งได้รับการพัฒนาและบ่มเพาะเพื่อนำร่องด้านการป้องกันและความมั่นคงผ่านโครงการเร่งนวัตกรรมป้องกันแอตแลนติกเหนือ (DIANA)

ในกันยายน 2023 NATO เปิดตัวบริษัท Deep Tech Lab – Quantum ในเดนมาร์ก ซึ่งเป็นห้องทดลองปฏิบัติการสตาร์ทอัพที่มีอนาคตในด้านเทคโนโลยีควอนตัม ตัวแสดงทั่วโลกได้จัดสรรทรัพยากรจำนวนมากเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมในการสร้างความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์

นอกจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป (EU) จีนเป็นผู้เล่นอันดับต้น ๆ ในการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ควอนตัม การประมาณการที่เผยแพร่โดย McKinsey and Company ในเมษายน 2023 จีนแซงหน้า EU ในการลงทุนเทคโนโลยีควอนตัมประมาณ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จีนเป็นผู้ก่อเหตุจารกรรมในอุตสาหกรรมการประมวลผลควอนตัมในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2018 สหรัฐฯพยายามตอบโต้จีนในด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมและการใช้งานสองทางผ่านการคว่ำบาตรและข้อจำกัดทางการค้าและการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับชิปเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง

          ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครสามารถขัดขวางจีนได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมตัวนำยิ่งยวด   รุ่นที่ 3 (Origin Wukong) ที่จีนพัฒนาขึ้นเอง ขณะที่นักวิจัยพยายามแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดใหญ่ NATO ต้องเร่งการดำเนินยุทธศาสตร์และจูงใจภาคเอกชนเพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จ


[1] องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization)

[2] คือ การนำควอนตัมฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) หรือธรรมชาติวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ควอนตัม” ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นเทคโนโลยีพลิกผัน (Disruptive Technology) ต่อจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดโอกาส/ข้อจำกัด ความได้เปรียบ/เสียเปรียบทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศเป็นเหตุให้นานาประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเร่งศึกษา วิจัย พัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีควอนตัมให้เป็นรูปธรรม ดู "ควอนตัม" เทคโนโลยีสุดล้ำกับคำตอบแห่งอนาคต เข้าถึงได้ที่ https://www.depa.or.th/th/article-view/quantum-the-new-technology

[3] NATO’S QUANTUM TECHNOLOGIES STRATEGY HIGHLIGHTS INTENSIFYING STRATEGIC COMPETITION INTELBRIEF Friday, January 26, 2024 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/natos-quantum-technologies-strategy-highlights-intensifying-strategic-competition?e=c4a0dc064a

[4] ฝ่ายชนะได้ประโยชน์เท่ากับฝ่ายแพ้เสีย

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.